Pages

Tuesday, September 15, 2020

อันตรายป้ายรอรถเมล์'ล้ม' ทันสมัย(ต้อง)ไม่ทิ้งความปลอดภัย - เดลีนีวส์

sigappos.blogspot.com

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เปิดเผยว่า เบื้องต้นพบว่า สาเหตุศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางล้ม เกิดจากโครงสร้างเสาที่ติดกับพื้นทางเดินเป็นสนิมและชำรุด จากการใช้งานมาเป็นเวลานาน แต่ได้มีการซ่อมบำรุงตามรอบระยะเวลามาโดยตลอด อย่างไรก็ตามป้ายนี้อยู่ในแผนของกทม. ที่จะทำการปรับโฉมเปลี่ยนใหม่ เป็นป้ายรถเมล์อัจฉริยะแบบ Full Function อยู่แล้ว ตอนนี้จึงให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง เร่งก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารใหม่ทันที ภายหลังตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคใต้ดินว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ อย่างไร

เพื่อให้การก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารใหม่มีความแข็งแรง ระหว่างนี้ก็ให้ติดตั้งเต็นท์ เพื่อเป็นศาลาที่พักผู้โดยสารชั่วคราวไปก่อนจนกว่าการก่อสร้างป้ายใหม่จะแล้วเสร็จ รวมทั้งมอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง สำรวจความมั่นคงแข็งแรงศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางทุกแห่งที่อยู่ในความดูแลของกทม. ซึ่งมีประมาณกว่า 2,000 ป้าย โดยเฉพาะศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางที่มีอายุการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน หากพบว่าศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางแห่งใด ไม่มั่นคงแข็งแรงจะเร่งปรับปรุงโดยเร็ว เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทีมข่าวชุมชนเมือง-เดลินิวส์ จึงได้ติดต่อสัมภาษณ์พิเศษ รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ถึงความปลอดภัยในการติดตั้งป้ายรถเมล์ต่างๆว่าจะต้องติดอย่างไรให้ปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม  โดย รศ.สิริวัฒน์ กล่าวว่า มองจากภายนอกป้ายรถเมล์อันนี้มีความสวยงาม เป็นรูปแบบตามสถาปัตยกรรมที่ได้ออกแบบเอาไว้ดีพอสมควร แต่ถ้าถามตามหลักวิศวกรรมแล้วถือว่า การออกแบบในลักษณะนี้ โครงสร้างค่อนข้างจะเสียเสถียรภาพได้ง่าย เพราะเสาที่เป็นขาหลังยืนขาเดียว แล้วก็มีหลังคาแหงนขึ้นไป แต่ว่าการเสียเสถียรภาพนี้ ในเชิงวิศวกรรมมันจะไม่มีปัญหาถ้าหากว่าการออกแบบนั้นถูกต้อง และมีการก่อสร้างที่ถูกหลักวิศวกรรมอย่างชัดเจน ซึ่งการออกแบบเท่าที่เห็นตัวโครงสร้างนี้ พบว่าทำด้วยเหล็ก เสาก็เป็นเหล็ก หลังคาก็เป็นโครงเหล็กเบาๆ

ซึ่งคาดว่าวัตถุประสงค์ ของผู้ออกแบบต้องการให้มีน้ำหนักเบา เพื่อจะได้ไม่ต้องไปตอกเสาเข็มหรือเจาะพื้นฟุตปาธ ให้กีดขวางทางเดินของประชาชนหรือกีดขวางบนถนนขณะทำการติดตั้ง อันนี้ก็ถือว่าเป็นหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง เมื่อหลักการออกแบบถูกต้องแล้ว ก็มาอยู่ที่การเลือกวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากวิศวกรพยายามออกแบบให้ ไม่ต้องมีการก่อสร้างที่ไม่กีดขวางบริเวณริมถนน ก็ทำแบบสำเร็จรูป โดยนำโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูป ที่ประกอบเป็นโครงป้ายรถเมล์มาติดตั้งลงไป  ปัญหาก็คือตัวเชื่อม บริเวณฐานรากของป้ายอาจจะเป็นสนิม จึงทำให้ไม่สมบูรณ์พอ ทำให้ปัญหาได้ง่าย เพราะในที่บริเวณนั้น อาจจะเกิดมีน้ำขังเฉอะแฉะ หรือถูกน้ำฝนตลอดเวลา ทำให้โคนเสาเกิดสนิม เมื่อทำการยึดติดกับกับตัวโครงป้าย จึงไม่มั่นคงแข็งแรง พอเสาที่ยึดติดมันเกิดสนิม หรือเริ่มที่จะอ่อนแอลง เสาก็เริ่มรับน้ำหนักมากขึ้น จนสุดท้ายพังลง

ซึ่งการติดตั้งป้ายรถเมล์ในอดีตตรงโคนเสาจะเทคอนกรีตหุ้มไว้ โดยมีความสูงอยู่ในระดับประมาณ 30 ซม. เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปเจอกับเหล็กโดยตรงจนเกิดสนิม แต่เพื่อความสะดวกในการติดตั้งและไม่กีดขวางการสัญจรของประชาชนบริเวณริมถนน จึงนำโครงป้ายมาประกอบลงหลุมเสา ที่เตรียมไว้โดยยึดกับฐานไว้ และไม่มีการเทคอนกรีตเพื่อทำการยึดไว้เหมือนในอดีต ดังนั้น หากจะทำให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้นตามหลักวิศวกรรม แนะนำว่าควรหาวิธียึดเสากับฐานรากให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หากไม่ใช้วิธีการเทคอนกรีตเช่นเดิมเพื่อให้ป้ายรถเมล์มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วป้ายรถเมล์ควรจะอยู่ได้เกิน 10 ปี

หรือควรใช้โครงสร้างที่เป็นรูปทรงบาลานซ์ อาทิ หลังคาโค้งมีคานยึดระหว่างเสา ซึ่งคำแนะนำนี้เป็นคำแนะนำในแนวทางของความปลอดภัยตามหลักวิศวกรรมเท่านั้น แต่ก็มองว่าถ้าจะติดตั้งป้ายรถเมล์ไม่กีดขวางการสัญจรของคนเดินบนทางเท้าและมีรูปโฉมทันสมัย ก็ควรทำให้เกิดความปลอดภัยให้มากขึ้นด้วย.


 

Let's block ads! (Why?)



"การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์" - Google News
September 16, 2020 at 10:31AM
https://ift.tt/2RxBabT

อันตรายป้ายรอรถเมล์'ล้ม' ทันสมัย(ต้อง)ไม่ทิ้งความปลอดภัย - เดลีนีวส์
"การติดตั้งเสร็จสมบูรณ์" - Google News
https://ift.tt/2BfqeLa
Home To Blog

No comments:

Post a Comment